7 วิธีดูแลตนเองหลังให้คีโม (เคมีบำบัด)


04 May 2022



คนไข้โรคมะเร็งหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดแล้วร่างกายจะอยู่ในสภาวะอ่อนแอ และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการดูแลตัวเองหลังได้รับยาเคมีบำบัดจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพของคนไข้ ทั้งยังช่วยให้การรักษาโรคมะเร็งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

อาการข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, แผลในปาก, ปริมาณเม็ดเลือดลดลง เป็นต้น อาการข้างเคียงที่ต้องปรึกษาแพทย์ เช่น มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก, มีผื่นหรืออาการแพ้, มีไข้ หนาวสั่น, ปวดมากบริเวณที่ฉีด, หายใจลำบาก, ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง, ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน

yes 7 วิธีดูแลตนเองหลังให้คีโม (เคมีบำบัด)
_________

heart 1. ดูแลเรื่องอาหาร

อาหารคือสิ่งสำคัญที่สุดในการดูแลตัวเอง เนื่องจากการให้ยาเคมีบำบัดนั้นเป็นการให้สารเคมีเข้าไปทำลายหรือยับยั้งเซลล์ที่มีการเจริญเติบโตเร็วในร่างกาย ซึ่งรวมถึงจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ช่วยในการกำจัดเชื้อโรค ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง อาหารที่ควรรับประทานและควรเลี่ยงจึงมีดังต่อไปนี้

อาหารควรรับประทาน

  • อาหารปรุงสุกใหม่ อาหารที่สุกและสะอาดช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา นม และไข่ไก่ต้มสุก เป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย และราคาถูก โปรตีนมีความสำคัญในการเสริมสร้างเซลล์ในร่างกายที่ถูกทำลายไป โปรตีนผู้ป่วยมะเร็ง >> MX Protein โปรตีนพืช 100%
  • รับประทานอาหารจากร้านที่เชื่อได้ว่าปรุงสุกสะอาด ถูกสุขอนามัยเท่านั้น
  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ไตขับยาเคมีบำบัดออกจากร่างกายให้มากที่สุด

อาหารควรเลี่ยง

  • เลี่ยงรับประทานอาหารค้างคืน เพราะมีความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับเชื้อโรคที่กำลังเพาะตัวในอาหารจานนั้น
  • เลี่ยงรับประทานอาหารหมัก ดอง ดิบ กึ่งสุก กึ่งดิบ เพราะมีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง
  • เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือเสพสิ่งมึนเมาอื่นๆ ในระหว่างการรักษา ที่อาจกระตุ้นการทำงานของเซลล์มะเร็ง

คำแนะนำเพิ่มเติม

อย่าปล่อยให้น้ำหนักลด โดยเฉพาะตอนที่รักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี เพราะหากน้ำหนักลดจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก พยายามรับประทานอาหารให้เพียงพอ คนไข้ส่วนใหญ่หลังได้รับยาเคมีบำบัด มักจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แต่อย่างไรก็ตามร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ คนไข้อาจจะรับประทานอาหารทีละน้อยโดยแบ่งเป็นมื้อย่อย 5 – 6 มื้อ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพื่อการฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมกับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดครั้งต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นโปรแกรมการรักษา

_________

heart 2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ

หลังการให้ยาเคมีบำบัดควรพยายามหลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษต่างๆ หรือรับสารพิษที่อาจไปกระตุ้นการทำงานของมะเร็ง เช่น อยู่ในมลภาวะไอเสียรถยนต์ สัมผัสกับสิ่งสกปรก สูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่ ซึ่งมีสารกระตุ้นเซลล์มะเร็ง ส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนไข้ที่อยู่ในสภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งอาจทำให้ผลการรักษาไม่เป็นไปตามแผนการรักษาของแพทย์ และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไข้เอง

_________

heart 3. ออกกำลังกายหรือทำงานเท่าที่ไหว

หลายคนที่ป่วยเป็นมะเร็งคิดว่าจะต้องนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วนอกจากการพักผ่อน มีผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำงานระหว่างการรักษามะเร็งมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้นหากสามารถทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้หลังทำการรักษาก็ควรทำ เพราะนอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดตึงข้อ ยังช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง เว้นแต่ในกรณีที่มีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้เหนื่อยและจำเป็นต้องนอนพักนานเป็นสัปดาห์

_________

heart 4. ผมร่วง

  • ควรตัดผมสั้นเพื่อสะดวกในการดูแล
  • ใช้แชมพูสระผมชนิดอ่อนๆ เช่น แชมพูเด็ก และไม่ควรสระผมบ่อย
  • ใช้แปรงที่มีขนนิ่มๆแปรงผม หรือหวีที่มีซี่ฟันห่างๆ และอย่าหวีผมบ่อย
  • ห้ามไดร์ผม ดัดผม หรือย้อมผม
  • ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนว่าควรต้องใช้วิกผมหรือไม่
  • ควรเตรียมวิกผมไว้ล่วงหน้าก่อนผมร่วงหมด เพราะวิกผมที่เตรียมไว้จะเข้ากับรูปหน้าที่มีผมตาม ธรรมชาติมากกว่าซื้อวิกผมเมื่อผมร่วงมากแล้ว

_________

heart​​​​​​​ 5. ท้องเสีย

  • รับประทานอาหารที่สะอาดและปรุงสุกแล้ว
  • ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย เช่น กล้วย
  • รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย ครั้งละน้อยๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น ถั่ว โซดา
  • ควรงดดื่มนม ชา และกาแฟ ตลอดจนน้ำผลไม้ทุกชนิด
  • ดื่มน้ำมากๆ เช่น น้ำอุ่นๆ น้ำชาอุ่นๆ เป็นต้น
  • รับประทานยาแก้ท้องเสียตามคำสั่งแพทย์

_________

heart​​​​​​​ 6. ท้องผูก

  • รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก เช่น ผัก และผลไม้ ข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ
  • ดื่มน้ำมากๆ วันละไม่ต่ำกว่า 3 ลิตร อาจจะเป็นน้ำผลไม้ก็ได้
  • ออกกำลังกายให้เพียงพอและสม่ำเสมอ
  • ใช้ยาถ่าย หรือ ยาระบาย ตามคำสั่งแพทย์

_________

heart​​​​​​​ 7. ดูแลจิตใจให้ดี

ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดอาจมีอารมณ์แปรปรวนเนื่องจากกังวลต่อโรคที่เป็น และต่ออาการอันเกิดจากผลข้างเคียงของยา บางรายอาจมีความวิตกถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย ครอบครัว ญาติ และเพื่อน ควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการดูแลเอาใจใส่ และพูดคุยให้กำลังใจ เพื่อให้รู้สึกสบายใจ มีกำลังใจขึ้น และคลายความวิตกกังวล ไม่ควรท้อแท้ หรือหมดกำลังใจ

การระวังเรื่องความเครียดคือสิ่งสำคัญ เพราะความเครียดทำให้มะเร็งลุกลามได้ เมื่อฮอร์โมนความเครียดหลั่งจะทำให้มะเร็งโตขึ้น มะเร็งดื้อยามากขึ้น มะเร็งกระจายตัวมากขึ้น ดังนั้นเมื่อความเครียดไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีขึ้น ผู้ป่วยมะเร็งควรทำใจให้สบายและมีความสุขในทุกๆ วัน

#โรคมะเร็งกันไว้ดีกว่าแก้
ยับยั้งมะเร็งและฟื้นฟูร่างกายในช่วงคีโมด้วย POLLITIN


ปรึกษาข้อมูล หรือสั่งซื้อพอลลิติน
ปรึกษาฟรี ตลอด 24 ชม. แอดเลย!
โทร: 080-992-8297, 083-080-0131
Line ID: @cernitins
Line: https://lin.ee/rDO24Wn
Facebook: Cancer Thailand สารอาหารบำบัด
Website: https://www.cancer-thailand.com/


SHARE :



080-992-8297, 083-080-0131

@cernitins

เพิ่มเพื่อน



Copyright © 2019 All Rights Reserved. Designed By Golly-design